โลโก้เว็บไซต์ ปรัชญา วัฒนธรรม ค่านิยม เป้าหมาย วิสัยทัศน์ในการพัฒนา วัตถุประสงค์ | สถาบันวิจัยเทคโนโลยีเกษตร

ปรัชญา วัฒนธรรม ค่านิยม เป้าหมาย วิสัยทัศน์ในการพัฒนา วัตถุประสงค์


ปรัชญา

           "องค์กรที่สร้างสรรค์งานวิจัย นวัตกรรมและบริการวิชาการด้านการเกษตรได้อย่างยั่งยืน"

วัฒนธรรม

           "มีส่วนร่วมทุกภาคส่วน แบ่งปันและเรียนรู้ด้วยกัน มุ่งมั่นพัฒนา"

ค่านิยม

           ATRI + D

           A = Accountability (การรับผิดชอบ)

           T = Team Working (การทำงานเป็นหนึ่ง)

           R = Research of Integration (การวิจัยเชิงบูรณาการ)

           I  = Innovative Creativity (การสร้างสรรค์นวัตกรรม)

           +D = Digitalization (ขับเคลื่อนองค์กรด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล)

เป้าหมาย

         "สร้างผลงานวิจัยที่ครบวงจรระดับนานาชาติสู่ความเข้มแข็งทางวิชาการ บริการวิชาการ ที่เพิ่มทักษะสู่ความเป็นเลิศหนุนสร้างบัณฑิตและมหาบัณฑิตนักปฏิบัติของมหาวิทยาลัยเป็นมืออาชีพสู่สากล"

วิสัยทัศน์ในการพัฒนา

        เป็นองค์กรที่มุ่งมั่นสร้างงานวิจัยเพื่อก่อเกิดอัจฉริยะองค์ความรู้สู่การพัฒนาการเรียนการสอน (Research for education) ให้กับนักศึกษาของมหาวิทยาลัยได้เป็นบัณฑิตหรือมหาบัณฑิตนักปฏิบัติ (Hands - On) อย่างมืออาชีพ พร้อมสามารถเปิดรับการเรียนรู้ตลอดชีวิต (Long-life learning) และต่อยอดสู่ความเป็นเลิศของการฝึกทักษะความเชี่ยวชาญเพื่อพัฒนาผู้ถ่ายทอดต่อ (Training to the trainer) ด้วยการพัฒนาทักษะที่มีอยู่ (Reskilling) และเสริมทักษะใหม่ (Upskilling) ด้วยทีมอาจารย์นักปฏิบัติและนักวิชาการนักปฏิบัติเป็นหน่วยสนับสนุนและเชื่อมโยงความร่วมมือของการทำงานวิจัยและบริการวิชาการระหว่างคณะต่างๆ ของมหาวิทยาลัยเพื่อการสร้างนวัตกรรมเพื่อชุมชน (Innovation for Community) 

วัตถุประสงค์

         1. เพื่อผลิตผลงานวิจัยที่สร้างองค์ความรู้ใหม่และมีนวัตกรรมที่ทันสมัยสำหรับพัฒนาการเรียนการสอนทุกระดับการศึกษาของมหาวิทยาลัยและสามารถเผยแพร่ผลงานในวารสารวิชาการระดับชาติและนานาชาติตามหลักเกณฑ์ที่ ก.พ.อ. กำหนด นอกจากนี้ยังสามารถนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อกลุ่มเป้าหมายด้วยการเพิ่มมูลค่าเชิงพาณิชย์

        2. เพื่อหนุุนการสร้างบัณฑิตหรือมหาบัณฑิตของมหาวิทยาลัยให้เป็นักปฏิบัติมืออาชีพสู่ระดับสากล

        3. เพื่อเพิ่มขีดความสามารถของบุคลากรทั้งสายวิชาการหรือสายสนับสนุนให้มีศักยภาพของการทำงานวิจัยหรือการบริการวิชาการ

        4. เพื่อสร้างหลักสูตรสำหรับกาารเรียนรู้ตลอดชีวิตด้านการเกษตรของทุกกลุ่มเป้าหมาย

ผลลัพธ์ที่สำคัญ

           1. สร้างรายได้เพื่อการพึ่งพาตัวเองได้ด้วยการให้บริการถ่ายทอดเทคโนโลยีหรือการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ที่เป็นผลพลอยได้จากการทำงานวิจัยและบริการวิชาการ

         2. ได้ผลิตผลงานวิจัยที่สร้างองค์ความรู้ใหม่และมีนวัตกรรมที่ทันสมัยสำหรับพัฒนาการเรียนการสอนทุกระดับการศึกษาของมหาวิทยาลัยและสามารถเผยแพร่ผลงงานในวารสารวิชาการระดับชาติและนานาชาติตามหลักเกณฑ์ที่ ก.พ.อ. กำหนด นอกจากนี้ยังสามารถนำไปใช้ให้เกิดประโยขน์ต่อกลุ่มเป้าหมายด้วยการเพิ่มมูลค่าเชิงพาณิชย์

         3. มีหลักสูตรสำหรับการเรียนรู้ตลอดชีวิตด้านการเกษตรในรูปแบบของหลักสูตรประกาศนียบัตร (Non - Degree) หรือหลักสูตรแบบสะสมหน่วยกิต (Credit Bank)

         4. ได้บัณฑิตนักปฏิบัติและมหาบัณฑิตนักปฏิบัติที่มีทักษะของการวิจัยและการบริการวิชาการ

         5. ยกระดับความสามารถของบุคลากรทั้งสายวิชาการหรือสายสนับสนุนให้รับกับข้อท้าทายของงานวิจัยและการบริการวิชาการ

 

 

ออกแบบและพัฒนาโดย สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา