โลโก้เว็บไซต์ หางไหล และแนวทางการใช้ให้เกิดประสิทธิภาพ | สถาบันวิจัยเทคโนโลยีเกษตร

หางไหล และแนวทางการใช้ให้เกิดประสิทธิภาพ

เผยแพร่เมื่อ : จันทร์ 18 กรกฎาคม 2565 โดย รัตนาภรณ์ สารภี จำนวนผู้เข้าชม 2877 คน

ยังไม่มีคะแนนสำหรับบทความนี้ ผู้อ่านสามารถให้คะแนนบทความได้จากปุ่มข้างใต้

 

ไฟล์สื่อวีดิทัศน์ คลิกที่นี่

ความยาว 4:05 นาที
[[ คลิกเปิดไฟล์สื่อวีดิทัศน์ ]]

 

หางไหล และแนวทางการใช้ให้เกิดประสิทธิภาพ
ความยาว: 4.05 นาที
ข้อมูล : สถาบันวิจัยเทคโนโลยีเกษตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา
เรียบเรียงเนื่อหา/จัดทำสื่อ : งานบริหารการถ่ายทอดเทคโนโลยี สถาบันถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ชุมชน  มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา
ปีผลิต 2565

รายละเอียด
วิดีทัศน์แนะนำแนวทางการป้องกันกำจัดแมลงโดยใช้สารสกัดจาก “หางไหล” ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในการป้องกันกำจัดแมลง ทดแทนสารเคมีทางการเกษตร เพื่อลดความเสียหายทั้งสารพิษตกค้างในผลผลิต สิ่งแวดล้อม เกิดผลกระทบต่อเกษตรกรผู้ใช้งาน รวมทั้งเป็นอันตรายต่อผู้บริโภคสัตว์เลี้ยงทั่วไป และสัตว์ที่ใช้เป็นอาหารของมนุษย์ 

 

 

หางไหล


จากการที่นักวิจัยด้านเกษตร ได้ค้นคว้า ทดลอง หาสารชีวภาพ เพื่อทดแทนสารเคมีเกษตร และพบว่าพืชหลายชนิดเช่น สะเดา หางไหล หนอนตายหยาก ยาสูบ และพืชชนิดอื่นๆ สามารถนำมาสกัด เพื่อให้ได้สารสำคัญ ที่ใช้ควบคุมศัตรูพืช ทดแทนสารเคมีได้ดี โดยไม่มีพิษตกค้าง 


หางไหล หรือ โล่ติ้น มีลักษณะเป็นไม้เถาเลื้อย จัดว่าเป็นพืชที่มีศักยภาพในการป้องกันกำจัดแมลงศัตรูพืช เนื่องจากมีสาร โรติโนน ซึ่งพบมากในส่วนของราก และลำต้น สารนี้ถูกนำมาใช้ประโยชน์ ในการป้องกันกำจัด แมลงศัตรูพืช เช่น ด้วงหมัดผัก เพลี้ย ด้วงเต่าแตง และมวน เป็นต้น

 

กรรมวิธีการเตรียมสารสกัดหางไหล

  1. นำรากหางไหลสด อายุประมาณ 1 ปี มาตัดออกเป็นท่อนๆ ยาวประมาณ 2 ซม.
  2. ทุบและนำไปแช่ในน้ำ ในอัตรา รากหางไหล 80 กรัม ต่อน้ำ 1 ลิตร โดยใช้เวลาแช่นาน 24 ชม.
  3. หลังจากครบกำหนด กรองสารสกัดหางไหลด้วยผ้าขาวบาง

 

แนวทางการใช้ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในการป้องกันกำจัดแมลง

  • โดยใช้สารสกัดหางไหลจำนวน 1 ลิตร ผสมน้ำ 20 ลิตร และสารจับใบ 5 มิลลิลิตร นำไปฉีดพ่นในช่วงที่มีการระบาดของแมลงศัตรูพืชเพื่อกำจัดและขับไล่แมลง 

 

 






ออกแบบและพัฒนาโดย สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา