โลโก้เว็บไซต์ ตรวจติดตามผลการดำเนินงานโครงการ RUCL รอบ 4 เดือน ประจำปี 2565 และสำรวจโจทย์ความต้องการร่วมกับสถานประกอบการเพื่อต่อยอดงานวิจัย โครงการการพัฒนาศักยาภาพผลิตภัณฑ์เครื่องปั่นดินเผาสู่งานเฟอร์นิเจอร์ นำโดย นายธนิตพงศ์ พุทธวงศ์ หัวหน้าโครงการ ร่วมกับ วิสาหกิจชุมชนกลุ่มหัตถกรรมเครื่องปั้นดินเผาบ้านเหมืองกุง ต.หนองควาย อ.หางดง จ.เชียงใหม่ วันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2566 | สถาบันวิจัยเทคโนโลยีเกษตร

ตรวจติดตามผลการดำเนินงานโครงการ RUCL รอบ 4 เดือน ประจำปี 2565 และสำรวจโจทย์ความต้องการร่วมกับสถานประกอบการเพื่อต่อยอดงานวิจัย โครงการการพัฒนาศักยาภาพผลิตภัณฑ์เครื่องปั่นดินเผาสู่งานเฟอร์นิเจอร์ นำโดย นายธนิตพงศ์ พุทธวงศ์ หัวหน้าโครงการ ร่วมกับ วิสาหกิจชุมชนกลุ่มหัตถกรรมเครื่องปั้นดินเผาบ้านเหมืองกุง ต.หนองควาย อ.หางดง จ.เชียงใหม่ วันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2566

เผยแพร่เมื่อ : จันทร์ 20 กุมภาพันธ์ 2566 โดย Natthida Wongpaeng จำนวนผู้เข้าชม 3392 คน

ยังไม่มีคะแนนสำหรับบทความนี้ ผู้อ่านสามารถให้คะแนนบทความได้จากปุ่มข้างใต้

เมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2566 กลุ่มงานยุทธศาสตร์ SPU นำโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ว่าที่ร้อยโทสุรพิน พรมแดน พร้อมคณะ ได้ลงพื้นที่ตรวจติดตามผลการดำเนินงานโครงการ RUCL รอบ 4 เดือน ประจำปี 2565 และสำรวจโจทย์ความต้องการร่วมกับสถานประกอบการเพื่อต่อยอดงานวิจัย "โครงการการพัฒนาศักยาภาพผลิตภัณฑ์เครื่องปั่นดินเผาสู่งานเฟอร์นิเจอร์" นำโดยนายธนิตพงศ์ พุทธวงศ์ หัวหน้าโครงการ ร่วมกับ วิสาหกิจชุมชนกลุ่มหัตถกรรมเครื่องปั้นดินเผาบ้านเหมืองกุง ต.หนองควาย อ.หางดง จ.เชียงใหม่

ทั้งนี้ นายธนิตพงศ์ พุทธวงศ์ หัวหน้าโครงการ ได้รายงาานความก้าวหน้าของโครงการในการเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาร่วมกับวิสาหกิจชุมชนกลุ่มหัตถกรรมเครื่องปั้นดินเผาบ้านเหมืองกุง เพื่อพัฒนาให้เครื่องปั้นดินเผาสู่งานเฟอร์นิเจอร์ สู่งานเฟอร์นิเจอร์ ในรูปแบบเก้าอี้ดินเผาที่สามารถรับน้ำหนักได้ 150 กิโลกรัม ทั้งนี้การมีการออกแบบเก้าอี้ และทดลองนำดินเหมองกุงมาปั้นและทำการเผา เพื่อพัฒนาให้เครื่องปั้นดินเผาสามารถทำเก้าอี้ออกมาได้จริงตามความต้องการของวิสาหกิจชุมชน ทั้งนี้ยังมีการวางแผนการพัฒนาร่วมกับสถานประกอบการให้สามารถออกแบบลวดลายเพิ่มเติมเพื่อเป็นเอกลักษณ์ของชุมชนบ้านเหมืองกุงอีกด้วย และหาแนวทางการจำหน่ายภายในอนาคตอีกด้วย

นอกจากนี้ นายวชิระ สีจันทร์ ประธานวิสาหกิจชุมชน ได้เข้าร่วมรับฟังการรายงานความก้าวหน้าโครงการ และพาเยี่ยมชมวิสาหกิจชุมชนบ้านเหมืองกุง ที่เป็นแหล่งศูนย์เรียนรู้การจัดทำเครื่องปั้นดินเผา จากช่างปั้นฝีมือดี สวยงาม ทนทาน และมีเอกลักษณ์  อีกทั้งแนะนำหมู่บ้านวิสาหกิจชุมชนกลุ่มหัตถกรรมเครื่องปั้นดินเผาบ้านเหมืองกุงที่จัดเป็นชุมชนเก่าแก่ของเมืองเชียงใหม่ ที่มีการปั้นน้ำต้นและหม้อน้ำมานานกว่า 200 ปี และมีการสืบทอดวิถีชีวิตการปั้นเครื่องปั้นดินเผาจากรุ่นสู่รุ่น อีกด้วย







ออกแบบและพัฒนาโดย สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา

Facebook Messenger icon