โลโก้เว็บไซต์ field day การจัดการผลิตเมล็ดพันธ์ุถั่วเหลืองพันธ์ุราชมงคล 1 การจัดการหลังการเก็บเกี่ยวเมล็ดพันธ์ุ และผลผลิตเพื่อการผลิตและการแปรรูปผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพ | สถาบันวิจัยเทคโนโลยีเกษตร

field day การจัดการผลิตเมล็ดพันธ์ุถั่วเหลืองพันธ์ุราชมงคล 1 การจัดการหลังการเก็บเกี่ยวเมล็ดพันธ์ุ และผลผลิตเพื่อการผลิตและการแปรรูปผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพ

เผยแพร่เมื่อ : ศุกร์ 4 เมษายน 2568 โดย Natee Srison จำนวนผู้เข้าชม 18 คน

ยังไม่มีคะแนนสำหรับบทความนี้ ผู้อ่านสามารถให้คะแนนบทความได้จากปุ่มข้างใต้

    เมื่อวันที่ 3 เมษายน 2568 นายอภิรักษ์ หลักชัยกุล เกษตรจังหวัดลำปาง ให้เกียรติคณะวิจัย มทร.ล้านนา ในการเป็นประธานเปิดกิจกรรม “Field Day การจัดการผลิตเมล็ดพันธุ์ถั่วเหลือง พันธุ์ราชมงคล 1 การจัดการหลังการเก็บเกี่ยวเมล็ดพันธุ์และผลผลิตเพื่อการผลิตและแปรรูปผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพ”  ณ กลุ่มเครือข่ายวิสาหกิจชุมชนกลุ่มสมุนไพรอินทรีย์ ตำบลบ้านกิ่ว อำเภอแม่ทะ จังหวัดลำปาง    
    ซึ่งจัดกิจกรรมโดย ผศ.สันติ ช่างเจรจา และคณะวิจัยจากสถาบันวิจัยเทคโนโลยีเกษตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ร่วมกับเกษตรกร วิสาหกิจชุมชน ผู้ประกอบการ ตัวแทนอบจ. ตัวแทนเกษตรอำเภอแม่ทะ และ สปก. จังหวัดลำปาง รวมทั้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในห่วงโซ่การผลิต/แปรรูป/สร้างมูลค่าเพิ่มและการตลาดถั่วเหลือง เพื่อขับเคลื่อนการสร้างเครือข่ายธุรกิจชุมชนร่วมเพื่อเพิ่มศักยภาพความเข้มแข็งของเครือข่ายเกษตรกร
    กิจกรรม Field Day นี้เป็นกระบวนการพัฒนาเครือข่ายนวัตกรและจัดการความรู้ ในโครงการ “กระบวนการมีส่วนร่วมสร้างชุมชนนวัตกรรมแห่งการเรียนรู้ ยกระดับห่วงโซ่คุณค่าวิถีเกษตร “รักษ์น้ำจาง” และเพิ่มความเข้มแข็งของเศรษฐกิจฐานรากในอำเภอแม่ทะ จังหวัดลำปางด้วยเศรษฐกิจสีเขียว (BCG) สู่การพัฒนาที่ยั่งยืน” และโครงการ “กระบวนการมีส่วนร่วมประยุกต์ใช้ขยายเทคโนโลยีที่เหมาะสมเพื่อยกระดับระดับมูลค่าเพิ่มบนห่วงโซ่คุณค่าสินค้าเกษตรและสร้างเครือข่ายธุรกิจยั่งยืนในจังหวัดลำปางและจังหวัดเชียงใหม่” ซึ่งได้รับการสนับสนุนงบประมาณ จากกองทุนส่งเสริม ววน. และหน่วย บพท.
    กิจกรรมดังกล่าวนี้ นำไปสู่การสร้างเครือข่ายชุมชนที่มีศักยภาพตลอดห่วงโซ่คุณค่าการจัดการผลิตถั่วเหลืองพันธุ์ดี พันธุ์ราชมงคล 1 ให้มีคุณภาพและมาตรฐาน จากแหล่งผลิตในชุมชนฐานราก สู่ตลาดสากล (From Local to Global) การแปรรูปสร้างมูลค่าเพิ่ม การสร้างแบรนด์ นำไปสู่การสร้างเครือข่ายธุรกิจชุมชนที่สามารถยกระดับห่วงโซ่เศรษฐกิจฐานรากของเกษตรกรในพื้นที่ “ชุมชนนวัตกรรม อำเภอแม่ทะ” และเชื่อมโยงกับเครือข่ายผู้ผลิตและแปรรูปถั่วเหลืองในพื้นที่อำเภออื่นๆ ของจังหวัดลำปาง และเชียงใหม่ในโครงการ App. Technology (เทคโนโลยีที่เหมาะสม) ได้อย่างยั่งยืน







ออกแบบและพัฒนาโดย สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา

Facebook Messenger icon