โลโก้เว็บไซต์ ศึกษาดูงาน เพื่อเตรียมการขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจของจังหวัดลำปางด้วย BCG โมเดล หนุนการพัฒนาอุตสาหกรรมจากไผ่และครั่ง  | สถาบันวิจัยเทคโนโลยีเกษตร

ศึกษาดูงาน เพื่อเตรียมการขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจของจังหวัดลำปางด้วย BCG โมเดล หนุนการพัฒนาอุตสาหกรรมจากไผ่และครั่ง

เผยแพร่เมื่อ : เสาร์ 30 เมษายน 2565 โดย ชูขวัญ แสงทอง จำนวนผู้เข้าชม 124 คน

ยังไม่มีคะแนนสำหรับบทความนี้ ผู้อ่านสามารถให้คะแนนบทความได้จากปุ่มข้างใต้

วันที่ 30 เมษายน 2565  รองศาสตราจารย์ ดร.มาลี ตั้งระเบียบ ลงพื้นที่ศึกษาดูงาน ร่วมกับ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จัตตุฤทธิ์ ทองปรอน รักษาราชการแทนอธิการบดี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา พร้อมด้วย รองศาสตราจารย์ ดร.อุเทน คำน่าน รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและพัฒนาระบบอย่างยั่งยืน และผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ เข้าร่วมการประชุมหารือและศึกษาดูงานด้านการพัฒนาอุตสาหกรรมจากไผ่และครั่งของจังหวัดลำปาง ณ บริษัท นอร์ทเทอร์น สยามซีดแลค จำกัด เพื่อขับเคลื่อนพืชเศรษฐกิจ (ครั่ง ไม้ไผ่) เพื่อเป็นส่วนการขับเคลื่อนเศรษฐกิจตามยุทธศาสตร์พื้นที่ลำปาง ด้วยฐานการวิจัยจากภาคการศึกษา ซึ่ง ในการขับเคลื่อนการดำเนินงานโครงการ แบ่งเป็น 3 ระยะ ดังนี้

  1. ระยะต้นน้ำ การวิเคราะห์ความเป็นไปได้ ในการสำรวจพื้นที่ปลูกรวมถึงการพัฒนาเทคโนโลยีปัจจุบัน โดยจะรับผิดชอบโดยมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ร่วม มหาวิทยาลัยในพื้นที่ซึ่งได้รับทุนสนับสนุนจากสถาบันวิจัยเทคโนโลยีเกษตร มทร.ล้านนา
  2. ระยะกลางน้ำ การพัฒนาผลิตภัณฑ์จากไม้ไผ่ โรงงานแปรรูปไม้ไผ่ และเครื่องจักรในการผลิต โดย มทร. ล้านนา ลำปาง ร่วม มรภ. ลำปาง ร่วมกันดำเนินการและขอทุนสนับสนุนจากโครงการ Talent mobility ในการปรับปรุงกระบวนการผลิต พัฒนาเครื่องทำตะเกียบ
  3. ระยะปลายน้ำ ดำเนินการออกแบบผลิตภัณฑ์เพื่อ creative lanna และ local economy ซึ่งรับผิดชอบโดยคณะศิลปกรรมและสถาปัตยกรรมศาสตร์ มทร.ล้านนา  มรภ. ลำปาง และ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต โดยขอรับทุนจากหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.)






ออกแบบและพัฒนาโดย สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา